วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบ (ของสายศิลป์)

หลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบ (ของสายศิลป์)


**หลายคนสงสัยทำไมต้องเฉพาะสายศิลป์ ก็เพราะสายศิลป์ท่องจำไวยกรณ์ ไม่ได้ท่องจำสูตร การอ่านของสายศิลป์คือการอ่านบ่อยๆให้ค่อยๆซึมเข้าไปในหัว ไม่ใช่ท่องจำถึงที่มาที่ไปของสูตร และอีกอย่างวิธีเหล่านี้ใช้ไม่ได้ในเด็กสายวิทย์**

อย่างแรกที่ต้องแนะนำ

1.กิน... ถ้าในระหว่างนี้คุณยังกลัวความอ้วนอยู่ ขอแนะนำให้ปิดหน้าต่างนี้ไปเลย ไม่ใช่ขยับปากเคี้ยวแล้วจะคิดออกนะ -*- แต่สมอง(ซึ่งถูกคุณใช้งานอย่างหนัก)ก็ต้องการสารอาหาร ควรจะเป็นของหวาน (แนะนำชอคโกแลต) คุณลองกินสิ จะรู้สึกมีพลังขึ้นมาอีก 25% และก็กินเข้าไปเลย กินๆๆ ไม่เปนไร เอนท์ติดแล้วเราลดได้ นอกจากนี้ สมองยังต้องการการผ่อนคลาย ซึ่งจะกลายเป็นหัวข้อที่ 2

2.สุขภาพจิตดี... ถ้าคุณเครียดทั้งวันทั้งคืน หนำซ้ำพ่อแม่ยังนั่งเฝ้า ...ตี 2 คุณเริ่มฟุบ พ่อคุณถามว่า "จะนอนแล้วหรอ?" ...หัวคุณก็จะหมกมุ่นอยู่กับความอึดอัด ความแค้น(ทำไมกูต้องเอนท์ด้วยวะ) ในขณะที่สายตาของคุณกวาดไปมา และสมองคุณเกร็งอย่างแรง กลับจำอะไรไม่ได้เลย คุณคิดว่าคุณเครียดแล้วจะอ่านหนังสือได้เยอะงั้นหรือ...เปล่าเลย คุณโกหกตัวเอง เหมือนเอาเชือกมารัดหัวแล้วบอกตัวเองว่า ฉันอ่านหนังสือหนักจนปวดหัวเลยนะเนี่ย...ข้อนี้แนะนำให้กินน้ำ ล้างหน้าบ่อยๆ ออกไปเดินเล่นซัก 10 นาทีคงไม่ทำให้คุณสอบตก แลกกับการชาร์จพลังสมอง...คุ้มนะ
3.สมาธิ.. อย่าดูถูกวิธีโบราณ มันช่วยได้จริง...ก้อการนั่งสมาธิไงล่ะ ลองเปิดเพลงไปด้วย ถ้าคุณมีสมาธิจริงคุณจะไม่ได้ยินเสียงเพลงเลย (ไม่ใช่นั่งไปคิดไป เมื่อไหร่เพลงจะหาย..ยังงี้ไม่ได้นะคะ เพราะเท่ากับคุณนั่งฟังเพลง) คิดว่าเรามีลูกแล้วอยู่ในร่างกาย แล้วมันวิ่งขึ้นวิ่งลงช้าๆ ไปเรื่อยๆ
เคยอ่านข้อสอบรอบนึง แล้วไม่รู้ว่าข้อสอบถามอะไรมั้ย นั้นล่ะ คุณกำลังขาดสมาธิ หายใจเข้า-ออกยาวๆ และพยายามทบทวนอยู่เสมอว่าเมื่อกี้เราคิดอะไรอยู่ ให้จดจ่อกับเรื่องที่อ่านไปเรื่อยๆ อย่าให้เส้นสมองขาดตอนนะ
4.กำลังใจ... ถ้าใน 3 ข้อแรก คุณทำอะไรไม่สำเร็จเลย แปลว่าคุณขาดกำลังใจ ขาดแรงฮึดสู้ หรือง่ายๆว่า คุณไม่อยากเอนท์ มีหลายสาเหตุ
- เข้าที่ไหนก็ได้...อย่าโกหกตัวเอง เพียงเพราะว่าคุณเป็นคนขี้เกียจ ใครๆก็อยากเอนติดกันทั้งนั้น คุณบอกว่าคุณไม่หวัง คุณบอกว่าคุณขี้เกียจอ่านและไม่เอาอะไรแล้วในชีวิตดีกว่า จริงอยู่ เอน..ไม่ใช่ทุกสิ่ง แต่เมื่อคุณีโอกาส ทำไมไม่ตั้งใจทำให้มันดี - ประชดคนบางคน... โถๆๆ อย่าเอาคนอื่นมาตัดสินชะตาชีวิตตัวเองแบบนี้เป็นอันขาด ไม่ว่าแม่คุณจะประกาศแก่แม่ค้าทั้งตลาดว่าคุณไม่มีทางเอนติด หรือ พร่ำหวังให้คุณติด มหิดล-จุฬา ทั้งสองอย่างทำให้คุณหดหู่จนไม่อยากทำให้เขาสมน้ำหน้าคุณอย่าไปสนใจดีกว่า...บอกแล้วไง คุณทำเพื่ออนาคตคุณเอง เปลี่ยนแรงกดดันนั้นให้เป็นแรงฮึดสู้...(กูจะติดแพทย์ศิริราชให้ดู..ว่างั้น)
ยังไงก็แล้วแต่ คุณต้องอ่านเยอะๆ อ่านหลายๆ รอบ อ่านจนสามารถพูดสรุปออกได้เป็นฉากๆ ไม่ใช่ท่องจำ แต่มันคือการฝังลงไปในหัวที่พร้อมจะเรียกใช้เมื่อไหร่ก็ได้ อย่าไปมัวท่อง(ขอเน้น..อย่า!!!) อ่านบ่อยๆเท่านั้นที่ช่วยได้ อ่านครั้งแรกคุณจะรู้สึกสมองโล่งและคิดในใจว่า คุณจะจำได้ซักกี่คำกัน แต่ครั้งที่ 2 เฮ้ย!! คำนี้มันคุ้นๆ (หลังจากนั้นไปตามหาว่ามันแปลว่าไร ขอย้ำ!! ไม่ต้องท่อง) ครั้งที่ 3 คุณจะจำได้เองอย่างไม่น่าเชื่อ...สาธุ
สำหรับคนที่เรียนพิเศษแล้วไม่เข้าใจ...ฉันเองก็เคยสอนพิเศษ สามารถบอกได้เลย คนที่ไม่ฟัง เอาแต่จด เอาแต่อ่านในหนังสือน่ะ พลาดโอกาสอันดีไปนะ เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่อยู่ที่ปากคนสอน คุณจะเข้าใจมั้ยก้ออยู่ที่คนสอน เช่นเวลาไปเรียนแบรนด์ บางคนนั่งอ่านในหนังสือแล้วคิดว่า เค้าพูดถึงไหนแล้ว...กว่าจะคิดได้ว่าที่เขาพูดไม่มีในหนังสือ คุณก็จดไม่ทันแล้วล่ะ หนังสือนั่นน่ะมันไม่ไปไนหรอก คุณจะอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ คุณจะเอาเวลาว่างมาท่องทั้งเล่มก็ไม่มีใครว่า

**ถ้าเป็นไปได้เวลาเรียนพิเศษ ฟังที่อาจารย์พูด ฟังทุกคำ ไม่ใช่เหม่อลอยคำที่ 2 กลับมาฟังอีกทีคำที่ 8 ...ชาติหน้าตอนบ่ายๆ คงเข้าใจ แต่ก็ไม่ใช่ฟังแล้วเขี้ยนตามคำบอก...จงฟังแล้วคิด แล้วเขียนอย่างที่ตัวเองเข้าใจ เมื่อจบคอร์สเอามาเรียบเรียงให้เป้นภาษาคน แล้วอ่านซ้ำ (หลายๆรอบ เอาให้จำได้) เราจะรู้ได้เลยว่า อ๋อ บรรทัดนี้ อาจารย์เค้าสอนไว้ว่าไงบ้าง **
...ขอแนะนำขั้นสุดท้ายว่า ม.5 เทอม 2 ควรจะเรียนพิเศษให้เสร็จ (ในกรณีที่เอนครั้งเดียวเดือนกุมภา) พอขึ้นม.6ก็ควรจะเริ่มจำที่เรียนๆ มาได้แล้ว อย่าหวังว่าจะไปอ่านที่โรงเรียน มันไม่สามารถอ่านจนจับประเด็นได้เลย เว้นแต่จะเอาเลขไปทำเล่นๆ แต่ถ้าอีก 3 เดือนแล้วไม่มีไรในหัวเลย ขอแนะนำให้ทำข้อสอบย้อนหลักซัก 15 ปี ส่วนคนที่อ่านพร้อมแล้วทำ 7 ปีก้อพอ...

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันสารทจีน



วันสารทจีน




วันสารทจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7[1] ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้


ตำนาน

ตำนานที่ 1
ตำนานนี้กล่าวไว้ว่าวันสารทจีนเป็นวันที่เซ็งฮีไต๋ตี๋ (
ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้ายจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ดังนั้นเพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญนี้จึงต้องมีการเปิดประตูนรกนั่นเอง
ตำนานที่ 2
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งมีนามว่า “มู่เหลียน” (
พระโมคัลลานะ) เป็นคนเคร่งครัดในพุทธศาสนามาก ผิดกับมารดาที่เป็นคนใจบาปหยาบช้าไม่เคยเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์มีจริง ปีหนึ่งในช่วงเทศกาลกินเจนางเกิดความหมั่นไส้คนที่นุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ นางจึงให้มู่เหลียนไปเชิญผู้ถือศีลกินเจเหล่านั้นมากินอาหารที่บ้านโดยนางจะทำอาหารเลี้ยงหนึ่งมื้อ
ผู้ถือศีลกินเจต่างพลอยยินดีที่ทราบข่าวว่ามารดาของมู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลครั้งนี้ จึงพากันมากินอาหารที่บ้านของมู่เหลียนแต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจนั้นมีน้ำมันหมูเจือปนอยู่ด้วย การกระทำของมารดามู่เหลียนนั้นถือว่าเป็นกรรมหนัก เมื่อตายไปจึงตกนรกอเวจีมหานรกขุมที่ 8 เป็นนรกขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
เมื่อมู่เหลียนคิดถึงมารดาก็ได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ จึงได้รู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยากจึงป้อนอาหารแก่มารดา แต่ได้ถูกบรรดาภูตผีที่อดอยากรุมแย่งไปกินหมดและเม็ดข้าวสุกที่ป้อนนั้นกลับเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากของมารดาจนพอง แต่ด้วยความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสมู่เหลียนได้เข้าไปขอพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง (
ยมบาล) ว่าตนของรับโทษแทนมารดา
แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการนำร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ได้ทัน โดยกล่าวว่ากรรมใดใครก่อก็ย่อมจะเป็นกรรมของผู้นั้นและพระพุทธเจ้าได้มอบคัมภีร์อิ๋ว หลันเผิน ให้มู่เหลียนท่องเพื่อเรียกเซียนทุกทิศทุกทางมาช่วยผู้มีพระคุณให้หลุดพ้นจากการอดอยากและทุกข์ทรมานต่างๆ ได้ โดยที่มู่เหลียนจะต้องสวดคัมภีร์อิ๋ว หลันเผินและถวายอาหารทุกปีในเดือนที่ประตูนรกเปิดจึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอดด้วยการเซ่นไหว้ โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวาน และ
กระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตน


จำนวนชุดที่ไหว้


การไหว้ในเทศกาลสารทจีนแบ่งออกเป็น 3 ชุด ดังนี้

1. ชุดสำหรับไหว้เจ้าที่
จะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวาน ขนมที่ไหว้ก็
ขนมถ้วยฟู กุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือขนมเทียน ขนมเข่ง ซึ่งต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นศิริมงคล นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง

2. ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษ
คล้ายของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง

3. ชุดสำหรับไหว้วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ
วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ เรียกว่า ไป๊ฮ๊อเฮียตี๋ แปลว่า ไหว้พี่น้องที่ดี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดีของเรา โดยการไหว้จะไหว้นอกบ้านของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Baguette



Baguette





A baguette (pronounced /bæ'gɛt/) is a specific shape of bread, commonly made from basic lean dough, a simple guideline set down by French law, distinguishable by its length, very crisp crust, and slits cut into it to enable proper expansion of gasses and thus formation of the crumb, the inner soft part of bread. The standard diameter of a baguette is approximately 5 or 6 cm, but the bread itself can be up to a meter in length, though usually about 60cm. A Parisian baguette typically weighs 250 grams (8.8 oz), but this is not legally regulated and varies by region[1]. It is also known in English as a French stick or a French bread.


History


The "baguette" is sometimes said to be a descendant of the pain viennois, bread first developed in Vienna, Austria in the mid-19th century when deck ovens, or steam ovens, were first brought into common use. Deck/steam ovens are a combination of a gas-fired traditional oven and a brick oven, a thick "deck" of stone or firebrick heated by natural gas instead of wood. The first such oven was brought (in the early nineteenth century) to Paris by the Austrian officer August Zang, whom some French sources thus credit with originating the (probably twentieth century) baguette.[2]
Deck ovens use steam injection, through various methods, to create the proper baguette. The oven is typically well over 205 °C (400 °F), the steam allows the crust to expand before setting, thus creating a lighter, more airy loaf.
The baguette today is often considered one of the symbols of French culture viewed from abroad, but the association of France with long loaves predates its creation. These had been made since the time of Louis XIV, and in fact could be far longer than the baguette: "loaves of bread six feet long that look like crowbars!" (1862)
[3]; "Housemaids were hurrying homewards with their purchases for various Gallic breakfasts, and the long sticks of bread, a yard or two in length, carried under their arms, made an odd impression upon me." (1898)[4]
But, states an article in the Economist, in October 1920 a law prevented bakers from working before 4am, making it impossible to make the traditional, round loaf in time for customers' breakfasts. The slender baguette solved the problem because it could be prepared and baked much more rapidly. [1] Unfortunately, the article is not sourced. The law in question appears in fact to be one from March 1919, though some say it took effect on October 1920: "It is forbidden to employ workers at bread and pastry making between ten in the evening and four in the morning."[5]. The rest of the account remains to be verified, but the baguette - that is, a much thinner, crustier version of the several traditional "pains longs" - does appear to be a twentieth century innovation.


Manufacture and styles


The "baguette de tradition française" is made from wheat flour, water, yeast, and common salt. It does not contain additives, but it may contain broad bean flour (max 2%), soya flour (max 0.5%), wheat malt flour (max 0.3%) [2].
While a regular baguette is made with a direct addition of
baker's yeast, it is not unusual for artisan-style loaves to be made with a poolish, "biga" or other bread pre-ferments to increase flavor complexity and other characteristics, as well as the addition of whole wheat flour or other grains such as rye. French bread is required by law to avoid preservatives, and as a result bread goes stale in under 24 hours, thus baking baguettes is a daily occurrence, unlike sourdough bread which is baked generally once or twice a week, due to the natural preservatives in a sourdough starter.
Baguettes are closely connected to
France and especially to Paris, though they are made around the world. In France, not all long loaves are baguettes; for example, a short, almost rugby ball shaped loaf is a bâtard, or bastard in English, originally a way to use up leftover dough, but now a common shape with similar weight to that of a baguette, another tubular shaped loaf is known as a flûte (also known in the United States as a parisienne) flûtes are generally half the length, twice the width, and approximately the same weight as baguettes, and a thinner loaf is called a ficelle. French breads are also made in forms such as a miche, which is a large pan loaf, and a boule, literally ball in French, a large round loaf. Sandwich-sized loaves are sometimes known as demi-baguettes, tiers, or sometimes "Rudi rolls".
Baguettes, either relatively short single-serving size or cut from a longer loaf, are very often used for
sandwiches (usually of the submarine sandwich type, but also panini); Baguettes are often sliced and served with pâté or cheeses. As part of the traditional continental breakfast in France, slices of baguette are spread with jam and dunked in bowls of coffee or hot chocolate. In the United States, French Bread loaves are sometimes split in half to make French bread pizza.
Baguettes are generally made as partially free-form loaves, with the loaf formed with a series of folding and rolling motions, raised in cloth-lined baskets or in rows on a flour-impregnated towel, called a
couche, and baked either directly on the hearth of a deck oven or in special perforated pans designed to hold the shape of the baguette while allowing heat through the perforations. These pans are never used in artisan-style baking, only in the Americanized version of the traditional baking process, which commonly uses frozen bread dough, sometimes called "thaw and bake", generally a cut-down among artisan-style bakers. Generally American style "French Bread" is much fatter, generally meaning over-proofed, and also scored incorrectly according to French baking tradition and not baked in deck ovens, but in convection ovens. The resulting loaf is much larger, softer, less chewy, and possessing a much more even crumb structure, in contrast to the traditional baguette which is slender, chewy, possesses an uneven and holey crumb structure, and crispy crust.
Outside France, baguettes are also made with other doughs; for example, the
Vietnamese bánh mì uses a high proportion of rice flour, while many North American bakeries make whole wheat, multigrain, and sourdough baguettes alongside traditional French-style loaves. In addition, even classical French-style recipes vary from place to place, with some recipes adding small amounts of milk, butter, sugar, or malt extract depending on the desired flavour and properties in the final loaf.



วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

12 สิงหาวันแม่แห่งชาติ



12 สิงหาวันแม่แห่งชาติ


ความเป็นมาของวันแม่




ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม ่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา



เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย... นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น
ภาษาไทย แม่
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ ม๋เปะ
ภาษามุสลิม มะ
ภาษาไทใต้คง เม
เป็นต้น