วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

เคล็ดลับการทำข้อสอบ

เคล็ดลับการทำข้อสอบ
นักเรียนส่วนมากรู้สึกว่าการสอบเป็นเรื่องยาก ทำให้เครียด กังวลและท้อใจถ้าผลการสอบออกมาไม่ดี หลายคนชอบเรียนแต่ไม่ชอบสอบ แต่ถ้าเราลองคิดในแง่ดีแล้ว การสอบมีประโยชน์มาก เพราะทำให้เรารู้ว่าผลการเรียนของตนเองอยู่ในระดับใด จะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น จงจำไว้ว่าคุณก็สามารถที่จะเอาชนะการสอบได้ ขอเพียงแต่คุณตั้งใจ แบ่งเวลาและเตรียมตัวสอบให้ดี วันนี้จะแนะนำเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการสอบให้ทราบกัน
1.เตรียมอุปกรณ์การสอบไปให้พร้อม เช่น ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัดรวมทั้งบัตรประจำตัวด้วย

2.ถ้าเลือกได้ให้เลือกที่นั่งที่ไร้สิ่งรบกวนและคุณรู้สึกสบาย มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีเสียงที่ดังเกินไปรบกวน
3.อ่านคำสั่งของข้อสอบให้เข้าใจ ถ้ามีปัญหาอะไรให้ถามผู้คุมสอบทันทีจะได้ไม่มีปัญหาว่าทำข้อ สอบผิด

4.ขีดเส้นใต้คำสำคัญ เช่น ไม่ เหตุใด และพิจารณาให้ดีว่าในคำถามหนึ่งข้อมีคำถามย่อยหรือไม่

5.เรียบเรียงความคิดว่าจะตอบคำถามแต่ละข้ออย่างไร

6.จัดแบ่งเวลาสำหรับการทำข้อสอบแต่ละข้อ โดยเฉพาะถ้าเป็นข้อสอบแบบอัตนัย

7.ควรทำข้อสอบส่วนที่มีสัดส่วนคะแนนมากที่สุดก่อน หรือถ้าทำไม่ได้ ให้ทำส่วนที่คิดว่าทำได้แน่นอน อย่างน้อยจะได้มีคะแนนบ้าง

8.ถ้าเป็นข้อสอบเขียนบรรยายก็ควรเขียนด้วย ลายมือที่อ่านง่าย ใช้ปากกาสีน้ำเงินหรือสีดำ จะได้สบายตาผู้ตรวจ และกระดาษคำตอบควรจะสะอาดเรียบร้อย

9.ตรวจความถูกต้องอีกครั้งก่อนส่งข้อสอบ ดูว่าทำถูกต้องตามคำสั่งหรือไม่ ตอบคำถามครบหรือเปล่า

10.หากพบสิ่งผิดปกติในห้องสอบ หรือมีสิ่งรบกวนการสอบ เช่น นอกห้องดังเกินไป ให้บอกผู้คุมสอบทันที

แต่พึงคิดไว้เสมอว่าไม่ว่าเราจะมีเคล็ดลับในการทำข้อสอบดีเลิศซักขนาดไหน สุดท้ายคะแนนสอบจะดีหรือไม่ดีอย่างไรมันก็อยู่ที่ตัวเราว่าเราได้ทุ่มเทให้มันเพียงพอหรือยัง อย่าลืมตั้งใจอ่านหนังสือกันนะค่ะ

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

แนะนำเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อคนไทยได้เก่งอังกฤษเยอะๆๆ

แนะนำเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อคนไทยได้เก่งอังกฤษเยอะๆๆ
การทำข้อสอบ
ขอกล่าวสวัสดีปีใหม่ในประเพณีวัฒนธรรมของจีนทุกท่านครับ เห็นได้ว่าเวลาที่ผ่านมาช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วมาก ดังที่ภาษาอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า “Time Flashes by” ซึ่งเราได้ผ่านวันขึ้นปีใหม่มาเมื่อไม่กี่วันนี้เอง อีกทั้งเห็นได้ในปีนี้ คือปี พ.ศ.2552 หรือ ค.ศ.2009 ขณะเดียวกันในปีนี้ได้มีคำกล่าวของผู้รู้หลายท่านว่าปีนี้จะเป็นปีที่หนักที่สุด โดยจะมีปัญหาเข้ามารุมเร้าในทั้งระดับย่อย จนถึงระดับประเทศ ลุกลามไปถึงระดับโลก โดยเฉพาะปัญหาด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเราทุกคนก็ไม่ควรที่จะกังวลอยู่กับปัญหาที่จะเกิด หากแต่ควรจะพัฒนาแนวความคิดที่จะต่อสู้กับปัญหาที่จะเกิดขึ้น อย่าท้อแท้ หาหนทางเพิ่มกำลังใจและความฮึดให้กับตัวเองให้ได้ ช่วงเวลานี้
สำหรับนักเรียน นิสิตนักศึกษา เป็นช่วงที่กำลังเข้าใกล้ระยะเวลาแห่งการสอบ หากท่านใดเริ่มหรือเตรียมตัว ในการสอบก่อนเนิ่นๆ ย่อมจะมีความพร้อม ความมั่นใจ ในการเข้าสู่ห้วงเวลาแห่งการแข่งขัน ซึ่งต่างกับผู้ที่ไม่ได้เตรียมตัวมา สำหรับการสอบแล้ว ต้องเกี่ยวข้องกับเวลาที่จำกัด ดังนั้นย่อมต้องอาศัยเทคนิคการทำข้อสอบ ดังนั้นผมขอแนะนำเทคนิคเกี่ยวกับการทำข้อสอบภาษาอังกฤษ โดยเริ่มต้นจากเทคนิคการทำข้อสอบการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading) นะครับ
ข้อสอบการอ่านภาษาอังกฤษนั้นประกอบด้วยเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้สอบต้องทำความเข้าใจ แล้วตอบคำถาม ซึ่งผู้สอบย่อมต้องมีทักษะหลายๆ ประการ ดังนั้น
1. รู้ศัพท์ (Vocabulary) ให้มากที่สุด การสอบ Reading แต่ละครั้ง เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเรื่องที่จะออกมาในเรื่องใด หากเป็นเรื่องที่เรามีความคุ้นเคย ก็ถือว่าเป็นโชคดีเพราะเราอาจจะเข้าใจเนื้อเรื่องมาก่อนแล้ว การเดาศัพท์ก็ทำได้ไม่ยาก ในทางกลับกันหากเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน ย่อมจะเพิ่มความลำบากให้เรามากขึ้น ดังนั้นการรู้ศัพท์เป็นจำนวนมาก หรือเข้าใจหลักการในการเดาศัพท์จากคำใกล้เคียงส่งผลให้เรามีโอกาสในการเข้าใจเรื่องนั้นๆ
2. เข้าใจในโครงสร้างหลักภาษาอังกฤษ (English Structure หรือ Grammar)ตามหลักการเขียนภาษาอังกฤษนั้น จะเริ่มจากการนำคำศัพท์มาเรียงกันให้เกิดประโยค เมื่อประโยค หลายๆ ประโยคมารวมกันก็จะกลายเป็นย่อหน้า และเมื่อแต่ละย่อหน้ามาประกอบกันจะได้เนื้อเรื่อง ดังนั้นการรวมกันของศัพท์เพื่อให้ได้ประโยคย่อมต้องอาศัยหลักการโครงสร้างภาษาอังกฤษที่จะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญหลัก
3 ส่วนคือ ส่วนประธาน (Subject) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวหลักของประโยค ส่วนที่สองคือส่วนการกระทำ หรือกริยา (Verb)ซึ่งจะกำหนดการกระทำที่เกิดขึ้นของประธาน และส่วนสุดท้ายซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ คือส่วนกรรม (Object) คือส่วนรองรับการกระทำจากกริยา ด้วยเหตุนี้ผู้อ่านต้องแยกแยะแต่ละส่วนหลักของประโยคให้ได้เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึง ใครทำอะไร ส่วนคำประกอบที่เหลือก็จะเป็นส่วนขยายให้ประโยคมีความชัดเจนมากขึ้น
ดังนั้นการรู้ประเภทของคำในศัพท์ เช่น คำนาม (Noun) คำกริยา (Verb) คำสรรพนาม (Pronoun) หรือ คำอื่นๆ จะทำให้เราได้ทราบถึงตำแหน่งและหน้าที่การวางคำในประโยคตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง


อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ประกอบด้วย เกาะใหญ่น้อยอยู่ทางฝั่งทะเลอ่าวไทยกว่า 40 เกาะ วางเรียงตัวเรียงรายเป็นรูปยาวรีคู่ขนานไปกับชายฝั่งทะเลจังหวัดตราด เช่น เกาะช้างน้อย เกาะคลุ้ม เกาะหวาย เกาะเหลายา เกาะไม้ซี้ เกาะรัง และมีเกาะช้างเป็นเกาะที่ขนาดใหญ่ที่สุด (ขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ตและเกาะสมุย) อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแหลมงอบ จังหวัดตราด ห่างประมาณ 8 กิโลเมตร ยาวจากเหนือลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร กว้างประมาณ 14 กิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 197 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 45 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ในท้องที่ตำบลเกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง และตำบลเกาะหมาก กิ่งอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ 650 ตารางกิโลเมตร หรือ 406,250 ไร่
ทิศเหนือ จดทะเล ท้องที่ ต.บางปิด ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด
ทิศใต้ จดทะเล ท้องที่ ต.เกาะหมาก กิ่งอำเภอเกาะกูด จ.ตราด
ทิศตะวันออก จดทะเล ท้องที่ ต.แหลมงอบ อ.แหลมงอบ จ.ตราด
ทิศตะวันตก จดทะเล ท้องที่ ต.เกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะช้าง จ.ตราด
ลักษณะภูมิประเทศ
ในจำนวนกว่า 40 เกาะ ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีเกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่ ที่สุดห่างจากแหลมงอบประมาณ 8 กิโลเมตร พื้นที่ทอดยาวจากเหนือลงมาทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 30 กิโลเมตร กว้างประมาณ 14 กิโลเมตร เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ตและเกาะสมุย แต่พื้นที่อุทยานแห่งชาติไม่ได้ครอบคลุมเกาะช้างทั้งหมด มีบางส่วนที่เป็นส่วนของกิ่งอำเภอเกาะช้าง มีราษฎรอาศัยอยู่ ส่วนในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ส่วนที่เป็นพื้นดินส่วนใหญ่ของเกาะช้างมีลักษณะภูมิประเทศเป็น ภูเขาเกือบตลอดทั้งเกาะ เช่น เขาล้าน เขาจอมปราสาท เขาคลองมะยม เขาสลักเพชร ยอดเขาใหญ่เป็นยอดเขาที่สูง ที่สุดมีความสูง 743 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
โครงสร้างทางธรณีส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นหินอัคนีในยุคไทรแอสซิกมีช่วงอายุ 195-230 ล้านปีมาแล้ว มีที่ราบตามชายฝั่งทะเลในบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร หมู่บ้านสลักคอก หมู่บ้านคลองสน และอ่าวคลอง พร้าว แม่น้ำลำธารในเกาะช้างเป็นคลองสายสั้นๆ ที่น้ำทะเลเข้าถึง ต้นคลองเป็นห้วยน้ำจืดไหลมาจากน้ำตก ซึ่งเป็นสภาพหุบเขาหลังอ่าวต่างๆ ไหลแทรกไปตามบริเวณป่าชายเลนแล้วไหลลงสู่ทะเลรอบๆ คลองที่สำคัญได้แก่ คลองสน คลองมะยม คลองค้างคาว คลองบางเบ้า คลองพร้าว คลองนนทรี เป็นต้น ลำน้ำเหล่านี้ยังก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกธารมะยม น้ำตกคลองพลู น้ำตกคลองนนทรี น้ำตกคีรีเพชร และน้ำตกคลองหนึ่ง นอกจากนี้ชายฝั่งตะวันออกของเกาะ จะมีหาดโคลนและหินเป็นหาดหน้าแคบ ส่วนหาดทางด้านตะวันตก จะเป็นหาดทรายและหิน
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ได้รับอิทธิพลจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ในระยะนี้มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิลดลงอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคมถึงเดือนเมษายน ในระยะนี้ดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนผ่านเส้นศูนย์สูตรไปทางซีกโลกเหนือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนค่อนข้างจะแปรปรวน มีฝนตกน้อยทำให้อากาศร้อนอบอ้าว โดยเฉพาะในเดือนเมษายน
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีความหลากหลายของพืชพรรณมาก ส่วนใหญ่เป็น ป่าดงดิบชื้น เป็นป่าที่ค่อนข้างห่างจากชายฝั่ง พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นไม้สกุลพลอง สารภีป่า และไม้ในสกุลหว้า ขึ้นปนอยู่ประปราย พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางนา กระบาก ตะเคียนทอง ทะโล้ พญาไม้ เปล้า หลาวชะโอน เต่าร้าง หวาย เตยย่าน กล้วยไม้ ไผ่ เร่ว กระวาน ฯลฯ มีที่ราบตามชายฝั่งทะเลในบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร หมู่บ้านสลักคอก หมู่บ้านคลองสน และอ่าวคลองพร้าว พืชพรรณธรรมชาติที่พบเป็น ป่าชายหาด ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีพรรณไม้ขึ้นอยู่ไม่กี่ชนิด เช่น หูกวาง สารภีทะเล เมา เสม็ด เตยทะเล เป็นต้น ตามชายฝั่งที่เป็นดินเลนบริเวณอ่าวและปากคลองลำธารต่างๆ จะพบ ป่าชายเลน พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โปรงขาว แสม พังกาหัวสุม ถั่วดำ แสม ตะบูน ปอทะเล และตีนเป็ดทะเล และ ป่าพรุ เป็นสังคมพืชที่เกิดขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปี บริเวณอ่าวสลักคอกและอ่าวสลักเพชร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เหงือกปลาหมอ และกก เป็นต้น
หมู่เกาะช้าง ไม่มีการทับถมของตะกอนโคลนเลนจากแม่น้ำ จึงทำให้หมู่เกาะเหล่านี้มีหาดทรายที่ ขาวสะอาด น้ำทะเลใสสวย และอุดมสมบูรณ์ด้วยสรรพชีวิตใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง เช่น ปะการังก้อน ปะการังเขากวาง ปะการังพุ่ม ปะการังแผ่น หอยมือเสือ ดอกไม้ทะเล ปลาสวยงามในแนวปะการัง กัลปังหา สาหร่าย พบได้ในบริเวณเกาะช้างน้อย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะช้าง เกาะหยวก เกาะมันนอก เกาะคลุ้ม เกาะหวาย เกาะเหลายา เกาะง่าม เกาะรัง เกาะกระ และบริเวณเรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงสงขลาที่จมอยู่ใกล้บริเวณอ่าวสลักเพชร
จากการสำรวจประชากรสัตว์ป่า เมื่อปี 2535 พบว่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างมี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 29 ชนิด ได้แก่ หมูป่า เก้ง ลิงเสน ค่างหงอก ชะมะเช็ด พังพอนธรรมดา ค้างคาว กระรอก และหนู เป็นต้น มี นก ทั้งหมด 74 ชนิด เป็นนกที่มีถิ่นถาวรในประเทศไทยและไม่อพยพย้ายถิ่น 61 ชนิด ได้แก่ นกยางทะเล นกปรอดหน้านวล นกตบยุง นกนางแอ่นแปซิฟิก นกกวัก และนกแก๊ก เป็นต้น เป็นนกอพยพเข้ามาในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว 8 ชนิดได้แก่ นกยางเขียว นกหัวโตทรายใหญ่ นกนางนวลแกลบดำปีกขาว นกน็อตตี้ นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกกระจี๊ดขาสีเนื้อ นกกระจี๊ดขั้วโลกเหนือ และนกนางแอ่นบ้าน เป็นนกอพยพเพื่อผสมพันธุ์ 2 ชนิด คือ นกแต้วแล้วอกเขียว และนกแต้วแล้วธรรมดา ส่วนนกอพยพผ่านในฤดูกาลอื่นๆ 3 ชนิด คือ นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาว นกจับแมลงคอสีน้ำเงินเข้ม และนกกระจี๊ดหัวมงกุฎ นอกจากนี้ยังมี สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน 42 ชนิด ได้แก่ ตะพาบน้ำ ตะกวด เหี้ย งูเหลือม งูสิง งูจงอาง และกบเกาะช้าง (เป็นสัตว์ประจำถิ่นใน ป่าดงดิบชื้นบริเวณเกาะช้างและเกาะใกล้เคียง)

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ


1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะสอบติด ฝันไปเถอะ

2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง ใช่หรือไม่

3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า “เราจะเป็นพยาบาล” จะเรียนแพทย์ก็ต้องเขียนไว้เลยว่า “ปีหน้าจะไปเหยียบแผ่นดินแพทย์ศิริราช-จุฬา” อะไรทำนองนี้ เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน

4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม

5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัด ก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง แล้วจะทำได้ไง วิธีการคือ อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง

6.ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า “เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใครกำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต ต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ เสียที


เคล็ดลับสรุปๆการอ่านหนังสือสอบ


ใกล้สอบกันแล้วใช่ไหมเอ่ย หิหิ แต่บ้างคนยังไม่ได้เริ่มอ่านหนังสือเลย 10 เคล็ดลับง่ายๆ รวบรัด


1.ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือ

2.นั่งสมาธิสัก 5 นาที

3.อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุปไม่เปิดหนังสือ

4.เช็คคำตอบ

5.อ่านอีกหนึ่งรอบ

6.สรุปใหม่เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน

7.ถ้าทำเป็นMind Mappingจะอ่านง่ายขึ้น

8.มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

9.ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆอย่างน้อย 2ครั้ง/คาบ

10.ก่อนวันสอบห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเทียงคืน สมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น


หลักการอ่านหนังสือเตรียมสอบ (ของสายศิลป์)


**หลายคนสงสัยทำไมต้องเฉพาะสายศิลป์ ก็เพราะสายศิลป์ท่องจำไวยกรณ์ ไม่ได้ท่องจำสูตร การอ่านของสายศิลป์คือการอ่านบ่อยๆให้ค่อยๆซึมเข้าไปในหัว ไม่ใช่ท่องจำถึงที่มาที่ไปของสูตร และอีกอย่างวิธีเหล่านี้ใช้ไม่ได้ในเด็กสายวิทย์** อย่างแรกที่ต้องแนะนำ

1.กิน...ถ้าในระหว่างนี้คุณยังกลัวความอ้วนอยู่ ขอแนะนำให้ปิดหน้าต่างนี้ไปเลย ไม่ใช่ขยับปากเคี้ยวแล้วจะคิดออกนะ -*- แต่สมอง(ซึ่งถูกคุณใช้งานอย่างหนัก)ก็ต้องการสารอาหาร ควรจะเป็นของหวาน (แนะนำชอคโกแลต) คุณลองกินสิ จะรู้สึกมีพลังขึ้นมาอีก 25% และก็กินเข้าไปเลย กินๆๆ ไม่เปนไร เอนท์ติดแล้วเราลดได้ นอกจากนี้ สมองยังต้องการการผ่อนคลาย ซึ่งจะกลายเป็นหัวข้อที่ 2

2.สุขภาพจิตดี... ถ้าคุณเครียดทั้งวันทั้งคืน หนำซ้ำพ่อแม่ยังนั่งเฝ้า ...ตี 2 คุณเริ่มฟุบ พ่อคุณถามว่า "จะนอนแล้วหรอ?" ...หัวคุณก็จะหมกมุ่นอยู่กับความอึดอัด ความแค้น(ทำไมกูต้องเอนท์ด้วยวะ) ในขณะที่สายตาของคุณกวาดไปมา และสมองคุณเกร็งอย่างแรง กลับจำอะไรไม่ได้เลย คุณคิดว่าคุณเครียดแล้วจะอ่านหนังสือได้เยอะงั้นหรือ...เปล่าเลย คุณโกหกตัวเอง เหมือนเอาเชือกมารัดหัวแล้วบอกตัวเองว่า ฉันอ่านหนังสือหนักจนปวดหัวเลยนะเนี่ย...ข้อนี้แนะนำให้กินน้ำ ล้างหน้าบ่อยๆ ออกไปเดินเล่นซัก 10 นาทีคงไม่ทำให้คุณสอบตก แลกกับการชาร์จพลังสมอง...คุ้มนะ

3.สมาธิ..อย่าดูถูกวิธีโบราณ มันช่วยได้จริง...ก้อการนั่งสมาธิไงล่ะ ลองเปิดเพลงไปด้วย ถ้าคุณมีสมาธิจริงคุณจะไม่ได้ยินเสียงเพลงเลย (ไม่ใช่นั่งไปคิดไป เมื่อไหร่เพลงจะหาย..ยังงี้ไม่ได้นะคะ เพราะเท่ากับคุณนั่งฟังเพลง) คิดว่าเรามีลูกแล้วอยู่ในร่างกาย แล้วมันวิ่งขึ้นวิ่งลงช้าๆ ไปเรื่อยๆ เคยอ่านข้อสอบรอบนึงแล้วไม่รู้ว่าข้อสอบถามอะไรมั้ย นั้นล่ะ คุณกำลังขาดสมาธิ หายใจเข้า-ออกยาวๆ และพยายามทบทวนอยู่เสมอว่าเมื่อกี้เราคิดอะไรอยู่ ให้จดจ่อกับเรื่องที่อ่านไปเรื่อยๆ อย่าให้เส้นสมองขาดตอนนะ

4.กำลังใจ...ถ้าใน 3 ข้อแรก คุณทำอะไรไม่สำเร็จเลย แปลว่าคุณขาดกำลังใจ ขาดแรงฮึดสู้ หรือง่ายๆว่า คุณไม่อยากเอนท์ มีหลายสาเหตุ - เข้าที่ไหนก็ได้...อย่าโกหกตัวเอง เพียงเพราะว่าคุณเป็นคนขี้เกียจ ใครๆก็อยากเอนติดกันทั้งนั้น คุณบอกว่าคุณไม่หวัง คุณบอกว่าคุณขี้เกียจอ่านและไม่เอาอะไรแล้วในชีวิตดีกว่า จริงอยู่ เอน..ไม่ใช่ทุกสิ่ง แต่เมื่อคุณีโอกาส ทำไมไม่ตั้งใจทำให้มันดี - ประชดคนบางคน... โถๆๆ อย่าเอาคนอื่นมาตัดสินชะตาชีวิตตัวเองแบบนี้เป็นอันขาด ไม่ว่าแม่คุณจะประกาศแก่แม่ค้าทั้งตลาดว่าคุณไม่มีทางเอนติด หรือ พร่ำหวังให้คุณติด มหิดล-จุฬา ทั้งสองอย่างทำให้คุณหดหู่จนไม่อยากทำให้เขาสมน้ำหน้า คุณอย่าไปสนใจดีกว่า...บอกแล้วไง คุณทำเพื่ออนาคตคุณเอง เปลี่ยนแรงกดดันนั้นให้เป็นแรงฮึดสู้...(กูจะติดแพทย์ศิริราชให้ดู..ว่างั้น) ยังไงก็แล้วแต่ คุณต้องอ่านเยอะๆ อ่านหลายๆรอบ อ่านจนสามารถพูดสรุปออกได้เป็นฉากๆ ไม่ใช่ท่องจำ แต่มันคือการฝังลงไปในหัวที่พร้อมจะเรียกใช้เมื่อไหร่ก็ได้ อย่าไปมัวท่อง(ขอเน้น..อย่า!!!) อ่านบ่อยๆเท่านั้นที่ช่วยได้ อ่านครั้งแรกคุณจะรู้สึกสมองโล่งและคิดในใจว่า คุณจะจำได้ซักกี่คำกัน แต่ครั้งที่ 2 เฮ้ย!! คำนี้มันคุ้นๆ (หลังจากนั้นไปตามหาว่ามันแปลว่าไร ขอย้ำ!! ไม่ต้องท่อง) ครั้งที่ 3 คุณจะจำได้เองอย่างไม่น่าเชื่อ...สาธุ สำหรับคนที่เรียนพิเศษแล้วไม่เข้าใจ...ฉันเองก็เคยสอนพิเศษ สามารถบอกได้เลย คนที่ไม่ฟัง เอาแต่จด เอาแต่อ่านในหนังสือน่ะ พลาดโอกาสอันดีไปนะ เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่อยู่ที่ปากคนสอน คุณจะเข้าใจมั้ยก้ออยู่ที่คนสอน เช่นเวลาไปเรียนแบรนด์ บางคนนั่งอ่านในหนังสือแล้วคิดว่า เค้าพูดถึงไหนแล้ว...กว่าจะคิดได้ว่าที่เขาพูดไม่มีในหนังสือ คุณก็จดไม่ทันแล้วล่ะ หนังสือนั่นน่ะมันไม่ไปไนหรอก คุณจะอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ คุณจะเอาเวลาว่างมาท่องทั้งเล่มก็ไม่มีใครว่า **ถ้าเป็นไปได้เวลาเรียนพิเศษ ฟังที่อาจารย์พูด ฟังทุกคำ ไม่ใช่เหม่อลอยคำที่ 2 กลับมาฟังอีกทีคำที่ 8 ...ชาติหน้าตอนบ่ายๆคงเข้าใจ แต่ก็ไม่ใช่ฟังแล้วเขี้ยนตามคำบอก...จงฟังแล้วคิด แล้วเขียนอย่างที่ตัวเองเข้าใจ เมื่อจบคอร์สเอามาเรียบเรียงให้เป้นภาษาคน แล้วอ่านซ้ำ(หลายๆรอบ เอาให้จำได้) เราจะรู้ได้เลยว่า อ๋อ บรรทัดนี้ อาจารย์เค้าสอนไว้ว่าไงบ้าง

** ...ขอแนะนำขั้นสุดท้ายว่า ม.5 เทอม 2 ควรจะเรียนพิเศษให้เสร็จ (ในกรณีที่เอนครั้งเดียวเดือนกุมภา) พอขึ้นม.6ก็ควรจะเริ่มจำที่เรียนๆมาได้แล้ว อย่าหวังว่าจะไปอ่านที่โรงเรียน มันไม่สามารถอ่านจนจับประเด็นได้เลย เว้นแต่จะเอาเลขไปทำเล่นๆ แต่ถ้าอีก 3 เดือนแล้วไม่มีไรในหัวเลย ขอแนะนำให้ทำข้อสอบย้อนหลักซัก 15 ปี ส่วนคนที่อ่านพร้อมแล้วทำ 7 ปีก้อพอ...