วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ล้างมือบ่อยๆ ป้องกันการแพร่เชื้อโรคทางเดินหายใจ

ล้างมือบ่อยๆ ป้องกันการแพร่เชื้อโรคทางเดินหายใจ


โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ที่เป็นปัญหาสำคัญมีอยู่ด้วยกันหลายโรค เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม วัณโรค ซาร์ส และไข้หวัดนก ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อโดยการไอ จามรดกัน หรือสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย เช่น ของเล่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร โทรศัพท์ ลูกบิดประตู ราวบันได เป็นต้น


การป้องกัน


การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งทำได้ง่ายๆ โดยการล้างมือบ่อยๆ การใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอจาม และการใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องไปในที่ชุมชน


ทำไมต้องล้างมือ


ผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจมีโอกาสที่จะใช้มือสัมผัสน้ำมูก น้ำลายของตนเอง แล้วนำเชื้อไปปนเปื้อนกับสิ่งของรอบๆ ตัว ทำให้คนอื่นๆ จะได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยใช้มือหยิบจับสิ่งของเหล่านั้นแล้วนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของตนเอง ทางเยื่อบุจมูก ตา และปาก

ล้างมือด้วยน้ำและสบู่
หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ
ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ และทุกครั้ง
หลังไอ จามหรือสั่งน้ำมูก
ก่อนและหลังการสัมผัสผู้ป่วย
ก่อนรับประทานอาหาร
ก่อนและหลังการเตรียมและป้อนอาหารให้เด็ก
หลังการสัมผัสสัตว์ทุกชนิด


การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ใน สถานพยาบาล ... ล่าสุด


การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขยายไปในหลายประเทศทั่วโลกจนได้รับรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน สำหรับประเทศไทยปัจจุบันพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในสถานศึกษา ค่ายทหาร เรือนจำ และในครอบครัวและคาดว่าจะมีการแพร่ระบาดไปทุกจังหวัดภายในกลางเดือนกรกฎาคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการติดเชื้อในสถานพยาบาลจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งประชาชนที่มารับบริการในโรงพยาบาลด้วย โดยมีการปฏิบัติที่สำคัญตามหลักการของ Isolation Precautions, Standard Precautions, Droplet Precautions และ Respiratory Hygiene and Cough Etiquette ดังนี้สถานที่ตรวจผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

1. ควรแยก Influenza OPD ออกจาก OPD สำหรับผู้ป่วยอื่น ควรเป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีผู้คนพลุกพล่าน สะดวกในการขนส่งผู้ป่วยและสามารถเคลื่อนย้ายเอกซเรย์เคลื่อนที่เข้ามาถึงได้โดยง่าย โดยจัดระบบเป็น One Stop Service ในพื้นที่เดียวกัน ตั้งแต่การทำบัตร คัดกรอง ตรวจรักษา เอกซเรย์ ให้สุขศึกษา จ่ายเงินและรับยา รวมทั้งสถานที่ดูแลผู้ป่วยก่อน admit เป็นผู้ป่วยใน เป็นต้น

2. เป็นห้องที่โล่งที่มีการระบายอากาศตามธรรมชาติได้ จัดให้มีทิศทางลมให้พัดจากบุคลากรสู่ผู้ป่วยและระบายออกภายนอกหรือให้มีพัดลมระบายอากาศช่วย มีอ่างล้างมือ และน้ำยาล้างมือแห้งอย่างเพียงพอ

3. จัดระบบการตรวจรักษาผู้ป่วยโดยคำนึงถึงความรุนแรงของอาการ ควรจัดแยกพื้นที่ สำหรับผู้ป่วยอาการหนักแยกจากผู้ป่วยอาการน้อย ผู้ป่วยที่มีอาการมากหรือรุนแรงต้องให้ได้รับการดูแลรักษาก่อน

4. ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการตรวจทุกราย ควรได้รับหน้ากากอนามัย และน้ำยาล้างมือแห้ง (เจลล์ล้างมือ) นอกเหนือจากยาที่จำเป็นอื่นๆ ตามอาการ โดยสั่งเป็น Standing Orderหอผู้ป่วยในสำหรับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

1. จัดหอผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช1เอ็น1 แยกจากหอผู้ป่วยอื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่

2. ในกรณีมีผู้ป่วยจำนวนน้อย ควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยกเดี่ยวที่มีห้องน้ำในตัว และ ปิดประตู3. ในกรณีมีผู้ป่วยจำนวนมาก ให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกแล้วว่าเป็นผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ อยู่รวมกันในหอผู้ป่วยรวมแยกโรค (Cohort Ward)คุณลักษณะของหอผู้ป่วยรวมแยกโรค (Cohort Ward)

3.1 มีการระบายอากาศที่ดี พื้นผิวเรียบทำความสะอาดง่าย มีอ่างล้างมือและห้องน้ำแยก

3.2 มีถังขยะติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยทุกคน และเจลล์ล้างมือไว้ท้ายเตียงทุกเตียง

3.3 จัดระยะห่างระหว่างเตียง 1-2 เมตร อาจมีม่านกั้นระหว่างเตียงซึ่งทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย

3.4 มีพื้นที่และอุปกรณ์เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจและผู้ป่วยวิกฤต

3.5 มีพื้นที่สำหรับถอดเครื่องป้องกันร่างกายที่ปนเปื้อนแล้วซึ่งควรอยู่ใกล้หรือหน้าประตูห้องผู้ป่วย3.6 Nurse Station ควรอยู่นอกห้องผู้ป่วย แต่ต้องสังเกตอาการผู้ป่วยได้โดยง่าย เช่น มีบานกระจกใสหรือโทรทัศน์วงจรปิดเครื่องป้องกันร่างกาย (Personal Protective Equipment : PPE)

1. PPE ประกอบด้วย mask (N 95 หรือ Medical/ surgical mask) , ถุงมือ , เสื้อกาวน์ , แว่นป้องกันตา (goggles) โดยมีจุดเน้นในระยะการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนี้ใช้ Medical/ Surgical Mask ในการดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจทุกคน กรณีต้องทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝอยละออง เช่น ใช้เครื่องช่วยหายใจ ดูดเสมหะ พ่นยา ฟื้นชีพ หรือการดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอมาก ควรใช้ N 95ถุงมือ ใช้เฉพาะเมื่อต้องแตะสัมผัสเลือด สารคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อของผู้ป่วย/ศพ และต้องเปลี่ยนถุงมือทุกครั้งที่จะดูแลผู้ป่วยรายอื่นเสื้อกาวน์ และ แว่นป้องกันตา (goggles) ให้ใช้กรณีที่ทำกิจกรรมที่เสี่ยง

2. การใช้PPE ใน Cohort Ward ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน PPEในการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย ยกเว้นถุงมือซึ่งต้องเปลี่ยนเสมอเมื่อต้องเปลี่ยนไปดูแลผู้ป่วยรายอื่น

3. ใช้ N-95 Mask และ Goggle เสมอในการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝอยละออง ในห้อง/หอผู้ป่วยแยกโรค ห้องฉุกเฉิน และหอผู้ป่วยวิกฤต

4. ควรฝึกซ้อมการใช้ PPE ทั้งการใส่และถอด PPE ให้ถูกต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

1. จำกัดการเคลื่อนย้ายเท่าที่จำเป็น เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ

2. จัดเส้นทางที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ให้ผ่านฝูงชน โดยมีผู้รับผิดชอบดูแลเส้นทางและต้องแจ้งบุคลากรปลายทางที่จะรับผู้ป่วยเพื่อสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายตามความเหมาะสม และกับบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวณนั้น

3. บุคลากรที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วย สวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายตามความเหมาะสมของลักษณะการสัมผัส ได้แก่ mask , ถุงมือ

4. สวมหน้ากากอนามัย (Medical/ surgical mask) ให้ผู้ป่วยเสมอ (หากผู้ป่วยไม่มีอาการเหนื่อยหอบ) เมื่อจะต้องเคลื่อนย้าย

5. หากต้องมีการเคลื่อนย้ายโดยรถพยาบาล บุคลากรที่นำส่งจะต้องสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายอย่างเหมาะสม และปฏิบัติ Infection Control Practice อย่างเคร่งครัด

6. การทำความสะอาดรถพยาบาลหลังจากส่งผู้ป่วยแล้ว ให้เช็ดพื้นผิวห้องโดยสารผู้ป่วยด้วยน้ำยาทำความสะอาดตามปกติ หากบริเวณใดเปรอะเปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งให้เช็ดออกให้มากที่สุด ด้วยกระดาษชำระแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดตามปกติ จากนั้นเช็ดบริเวณนั้นด้วย 0.5% Sodium hypochlorite ทิ้งไว้ 15 นาที หรือเช็ดด้วย 70% Alcohol ผ้าที่ใช้กับผู้ป่วย

1. เก็บผ้าที่ใช้แล้วภายในห้องผู้ป่วย ระมัดระวังการฟุ้งกระจาย ให้ใส่ในถุงขยะติดเชื้อแล้วส่งห้องบริการผ้า

2. บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผ้า ต้องสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกาย เช่น เสื้อกาวน์ , mask (Medical/ surgical mask) และ ถุงมือ

3. ซักผ้าด้วยน้ำร้อน > 71 องศาเซลเซียส หรือใส่ผงฟอกขาว

4. อบผ้าให้แห้งก่อนนำกลับมาใช้อีกเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับผู้ป่วย- เครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยควรแยกออกจากผู้ป่วยอื่นๆ และควรเป็นชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง สำหรับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ซ้ำให้พิจารณาทำความสะอาดและทำให้ปราศจากเชื้อตามลักษณะของอุปกรณ์นั้น ซึ่งแบ่งเป็น Critical items , semi-critical items และ non-critical itemsกรณีใช้เครื่องช่วยหายใจ- มี Filter ที่ Expiratory Port- ควรใช้ Closed circuit suctionอุปกรณ์รับประทานอาหาร

1. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานอาหารในเครื่องล้างจาน ซึ่งใช้น้ำร้อนและน้ำยาล้างจาน หากไม่มีเครื่องล้างจานบุคลากรต้องสวมถุงมือยางในการทำความสะอาดอุปกรณ์

2. หากมีญาติเฝ้าผู้ป่วย ไม่ควรให้ญาติรับประทานอาหารในห้องผู้ป่วย

3. อาจใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ขยะ- ขยะในห้องแยกหรือหอผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ให้ถือว่าเป็นขยะติดเชื้อ ซึ่งให้ดำเนินการทำลายตามมาตรการสำหรับขยะติดเชื้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น