หัวหิน... หัวหิน... หัวหิน... เมื่อพูดถึง "หัวหิน" หลายคนมักนึกถึงแต่ทะเล เที่ยวทะเล... เที่ยวทะเล... เที่ยวทะเล... แต่จริงๆ แล้ว "หัวหิน" ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจรอบเมืองอีกมากมายนะคะ ว่าแล้วเราไปดูกันดีกว่าว่ามีที่ไหนน่าเที่ยวกันบ้าง...
รัชกาลที่ 6 โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2466 ได้รับขนานนามว่า "พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง" ลักษณะเป็นพระตำหนักไม้สองชั้น หันหน้าออกสู่ทะเล พระตำหนักฝ่ายในอยู่ปีกขวา ทางปีกซ้ายเป็นส่วนของฝ่ายหน้า ประกอบด้วยพระที่นั่งสามองค์เชื่อมต่อถึงกันโดยตลอด "พระที่นั่งสุนทรพิมาน" เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรชายา "พระที่นั่งพิศาลสาคร" เป็นที่ประทับของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นหมู่พระที่นั่งตรงกลางประกอบด้วยห้องต่างๆ สำหรับสำราญพระอิริยาบถ ห้องพักข้าราชบริพารที่คอยรับใช้ใกล้ชิด ห้องทรงพระอักษร และ "พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ " เป็นอาคารโถงสองชั้นเปิดโล่งใช้เป็นที่ประชุมในโอกาสต่างๆ และเป็นโรงละคร ซึ่งเคยจัดแสดงละครครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ เรื่องพระร่วง และวิวาห์พระสมุทร
พระราชวังบ้านปืน
พระราชวังบ้านปืน หรือ พระรามราชนิเวศน์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นพระราชนิเวศน์ สำหรับประทับแรมในฤดูฝน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่จากราษฎร และให้จอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า บริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป ออกแบบโดยมิสเตอร์คาลเดอริง ชาวเยอรมัน
เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2452 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท และทรงเปลี่ยนเป็น"พระรามราชนิเวศน์" ปี พ.ศ. 2461 ใช้เป็นที่รับรองแขกเมือง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนผู้กำกับลูกเสือ โรงเรียนฝึกหัดครูเกษตรกรรม โรงเรียนประชาบาลประจำตำบล ฯลฯ
สถานีรถไฟหัวหิน (พลับพลาสถานีรถไฟ)
"สถานีรถไฟหัวหิน" เป็นหนึ่งในสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดของไทย สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีรถไฟแห่งนี้ คือ พลับพลาในแบบสถาปัตยกรรมไทยเด่นสะดุดตา ซึ่งได้ย้ายมาจากพระราชวังสนามจันทน์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 มีความสวยงามทางด้านสถาปัตย์และศิลป์ ซึ่งใครที่เห็นจะรู้สึกประทับใจ สถานียังคงเปิดให้บริการจวบจนทุกวันนี้ (ว้าว...)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น